ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเพื่อการบริหารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

ดาวน์โหลด สรุปผลการดำเนินงาน MSC KM Online Project 2020 [pdf]
ดาวน์โหลด แผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาการจัดการ พ.ศ. 2560 – 2564 [pdf]
นโยบายที่ 1 : การจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่า (Value Experience Education Management)
เป้าหมายการพัฒนาที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น หลากหลาย โดยเน้นเป็นแหล่งสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่า และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
- พัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา โดยจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้กับบัณฑิต รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นนวัตกรรม ที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปี 2558 เน้น “สอนให้น้อย เรียนรู้ให้มาก (Teach Less, Learn more)” อาทิ การเรียนการสอนโดยเน้นเน้นผู้เรียนให้เรียนจากประสบการณ์จริง การเรียนรู้การทำงานในลักษณะบูรณาการ (Work Integrated Learning) สหกิจศึกษา (Co-operative Education)
- จัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาโดยสร้างหลักสูตรเองหรือแบบทำความร่วมมือกับต่างประเทศ
- จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเน้นวิจัย(โดยสร้างหลักสูตรเองหรือแบบทำความร่วมมือกับต่างประเทศ) และมุ่งพัฒนาผลงานวิจัยระดับสูง
เป้าหมายการพัฒนาที่ 2 การพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตให้มีความเป็นพลวัต (Dynamics)
- จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา อาทิ ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ตามชั้นปี จัดกิจกรรมสัมมนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 และสอดคล้องตามชั้นปี
- พัฒนานักศึกษาแบบ 3 Q : IQ EQ SQ โดยจัดทำแผนพัฒนาเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกหัดและเรียนรู้การพัฒนาความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดทางจิตวิญญาณ
- จัดกิจกรรมนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN)
- ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ร่วมทำงานและค้นหาอาชีพที่สนใจผ่านกระบวนการเรียนรู้วิธีคิดทักษะ เสริมสร้างลักษณะนิสัย จิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ร่วมกับผู้ประกอบการจริง
- สร้างโอกาสให้บัณฑิตเข้าถึงแหล่งงานที่มีคุณภาพสูง (Career Development)โดยเฉพาะนักศึกษาด้านวิชาชีพที่ปัจจุบันมีความต้องการสูงมาก
นโยบายที่ 2 : การพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม (Research and Innovation for Social Engagement)
เป้าหมายการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาไปสู่การเป็นคณะที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม
- จัดทำแผนสนับสนุนการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและแสวงหาทุนวิจัย ทั้งจากภายในและภายนอก
- พัฒนาระบบบ่มเพาะนักวิจัยทั้งนักวิจัยระดับต้น ระดับกลางและนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น ระบบพี่เลี้ยง การฝึกอบรม การเข้าร่วมกลุ่มวิจัย การสนับสนุนทุนวิจัย โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากนักวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ทั้งในและระดับชาติและนานาชาติรวมทั้งสนับสนุนการทำวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงในระดับชาติ หรือนานาชาติ
- ส่งเสริมการรวมกลุ่มวิจัยเฉพาะทาง วิจัยข้ามสาขา และบูรณาการสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ การจัดการและวิทยาการศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เน้นแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพื่อสังคมและเพื่อสามารถขอผลงานทางวิชาการ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย หรืองานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการสอนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจสังคม หรือใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
- ส่งเสริมการจัดประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ การเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ และการเข้าร่วมเครือข่ายทางวิชาการ โดยเฉพาะระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
- พัฒนาวารสารวิชาการคณะวิทยาการจัดการให้มีอัตลักษณ์สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะวิทยาการจัดการให้มีคุณภาพและอยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ
นโยบายที่ 3 : มุ่งเน้นการบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม (Social Engagement)
เป้าหมายการพัฒนาที่ 4 ขับเคลื่อนบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคมในพื้นที่บริการ
- พัฒนาคณะวิทยาการจัดการให้เป็นแหล่งบริการวิชาการในการแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น โดยจัดตั้งคณะทำงานเพื่อสำรวจข้อมูลความต้องการในท้องถิ่นให้ชัดเจน เพื่อได้นำมาเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรช่วยเหลือทางวิชาการคณะทำงานชุดดังกล่าวจะทำงานร่วมกับหลักสูตรและสาขาวิชาต่าง ๆ ลดความซ้ำซ้อน และมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
- พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านการจัดการแก่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ และพัฒนาหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือ MOU ที่เป็นการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร และโครงการพิเศษที่สร้าง “รายได้” โดยเน้นการทำงานเชิงรุก
นโยบายที่ 4 : ทำนุบำรุงศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย (Art, region, Culture and Local and national knowledge)
เป้าหมายการพัฒนาที่ 5 นำภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่นบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนและการวิจัย
- สนับสนุน พัฒนาระบบและฐานข้อมูล งานวิจัย องค์ความรู้เกี่ยวกับ ศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ผ่านศาสตร์ของคณะวิทยาการจัดการ
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้การให้บริการสังคมและจิตอาสา ทำหน้าที่อนุรักษ์ศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนและการวิจัย
นโยบายที่ 5 : การจัดการคุณภาพสร้างสรรค์ (Creative Quality Management)
เป้าหมายการพัฒนาที่ 6 การจัดการคุณภาพสร้างสรรค์
การจัดการคุณภาพบุคลากร
- จัดทำแผนบริหารและการพัฒนาคณาจารย์ทั้งด้านวิชาการ และเทคนิคการสอนและมีแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์
- วางระบบและดำเนินงานบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและพัฒนาทีมงานให้มีกระบวนทัศน์ แนวคิดที่ทันสมัย มีทักษะการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลงาน และส่งเสริมความสามารถของบุคลากรให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
- จัดสร้างฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศของบุคลากร เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้ได้มากที่สุด
- ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรศึกษาต่อระดับปริญญาเอกและ Post-Doctoralเพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรในการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
การจัดการเทคโนโลยีสร้างสรรค์
- ส่งเสริมให้ผู้บริการและบุคลากรใช้ระบบสารสนเทศเทศเป็นตัวช่วยลดภาระ ทำงานรูปแบบใหม่ “ทำน้อยได้มาก (Do Less Get More)” ทำงานด้วยการใช้ความคิด ใช้เทคโนโลยีช่วย โดยพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเชิงรุก พัฒนาคุณภาพงานบริการ งานวิชาการ และงานเอกสารทั้งหมดให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ “E-Document” รองรับการเป็น “คณะดิจิตอล” (Digital Faculty)
การจัดการคุณภาพงานทั่วไป
- ส่งเสริมให้คณะวิทยาการจัดการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ
- มุ่งเน้นการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง เอื้ออาทรต่อกัน
- จัดสรรงบประมาณสนับสนุนสวัสดิการ บุคลากร สายงานต่าง ๆ โดยยึดหลัก Equal Work Equal Pay ให้เกิดความรู้สึกทัดเทียม เสมอภาค เป็นธรรม
- ปรับปรุงประสิทธิภาพการสื่อสารภายในคณะ ด้วยการเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย อาทิ การใช้ Social Media เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนในทิศทางและการดำเนินงานของคณะ
- สร้างคณะวิทยาการจัดการให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีชื่อเสียงและได้รับการรับรองคุณภาพทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอก
- สร้างระบบการกำกับติดตาม ประเมินผลในด้านต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยุติธรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
นโยบายที่ 6 : นานาชาติสร้างสรรค์ (Creative Internationalization)
เป้าหมายการพัฒนาที่ 7 การปรับตัวเพื่อรองรับการเป็นนานาชาติ
- ผลักดันกิจกรรมระดับนานาชาติ เชิญผู้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนให้บุคลากรของคณะวิทยาการจัดการมีบทบาทในเวทีระดับชาติและนานาชาติ
- ผลักดันให้คณะวิทยาการจัดการเป็นเจ้าภาพหรือร่วมเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม/โครงการ Conference หรือ Forum การสัมมนา การนำเสนอผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ
- จัดทำแผนการความร่วมมือความร่วมมือทางวิชาการ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์และความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียน หรือประเทศต่าง ๆ ในยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือออสเตรเลีย