ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนคณะวิทยาการจัดการ

ในการพัฒนาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ไปสู่ความเลิศทางวิชาการและวิชาชีพนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแบบพลิกโฉม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมโลก เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม รวมถึงผลกระทบจากสถานภารณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ดังนั้น คณะวิทยาการจัดการ จึงกำหนดแนวคิดใหม่เพื่อให้สามารถก้าวสู่ความเป็นเลิศ ภายใต้แนวคิด “MSC 365 Transformation : ปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นเลิศ” แนวคิดดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย 6 ยุทธศาสตร์ และ 5 นโยบาย ดังนี้

MSC365Transformation

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาสู่การสร้างความมั่นคงของคณะวิทยาการจัดการ
(เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายเพื่อการอยู่รอด : Breakthrough in MSC Way)

แนวคิดตามยุทธศาสตร์

การจัดการศึกษาของคณะวิทยาการจัดการ เดิมจะเป็นการจัดการศึกษาโดยเน้นกลุ่มผู้เรียนในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก คณะวิทยาการจัดการมีจำนวนนักศึกษามากที่สุดในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้เข้าศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนุปริญญา แต่จากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรที่มีอัตราการเกิดลดลง ส่งผลให้มีนักเรียนนักศึกษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการแข่งขันของมหาวิทยาลัยที่มีสูงขึ้น จึงอาจจะส่งผลกระทบความความมั่นคงของคณะวิทยาการจัดการในระยะยาว

เป้าหมาย

มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ส่งเสริมการจัดการการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงาน (Work base Learning) เน้นพัฒนาสมรรถนะบัณฑิตตามวิชาชีพ คลอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และตอบสนองทิศทางความต้องการกำลังคน (New S Curve) ของประเทศ

กลยุทธ์/แนวทางการดำเนินงาน

  • พัฒนาหลักสูตร (Degree) ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น กับทักษะในศตวรรษที่ 21 บัณฑิตพันธุ์ใหม่ และความต้องการกำลังคนของประเทศ (New S Curve)
  • พัฒนาหลักสูตรไม่รับปริญญา (Non Degree) หรือหลักสูตรระยะสั้นที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ (ReSkill, UpSkill, NewSkill, New Knowledge, New Experience, New Social) รวมถึงการจัดการศึกษาระบบคลังหน่วยกิต ระบบโมดูล (Module) และ Sanbox
  • พัฒนาหลักสูตรที่เน้นประสบการณ์เรียนควบคู่กับการทำงาน (EWIL) โดยร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา องค์กร และสถานประกอบการในการพัฒนาทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ
  • พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนทุกระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายเพื่อการอยู่รอด : Breakthrough in MSC Way)

แนวคิดตามยุทธศาสตร์

ภายใต้พระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการรับใช้สังคมท้องถิ่น กลายเป็นพันธกิจสำคัญของคณะวิทยาการจัดการในการมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ในศาสตร์ด้านบริหารจัดการไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนโครงการบริการวิชาการที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่เป็นการให้ความสำคัญกับการให้บริการวิชาการแบบไม่หวังผลตอบแทน ดังนั้น ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้ จึงมุ่งปรับเปลี่ยนเป้าหมายและวิธีการไปสู่การผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญจะเป็นการเพิ่มสัดส่วนงานบริการวิชาการที่สนับสนุนการสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น

เป้าหมาย

เป็นให้การบริการวิชาการอย่างมีเป้าหมาย มุ่งให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม มีการกำหนดค่าเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน และเน้นสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ

กลยุทธ์/แนวทางการดำเนินงาน

  • มุ่งสร้างความร่วมมือร่วมกับชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
  • กำหนดพื้นที่การบริการวิชาการอย่างมีเป้าหมายโดยมุ่งหวังให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม (Social Impact) และมีการกำหนดค่าเป้าหมายที่ชัดเจน
  • ส่งเสริมการทำงานในรูปแบบพันธกิจสัมพันธ์ (University Engagement)
  • ส่งเสริมกลไกการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนเพื่อผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ปรับเปลี่ยนการวิจัยสู่การสร้างนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และเน้นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
(เป้าหมายระยะกลาง เป้าหมายเพื่อการต่อยอด : Upgrade Core Capabilities)

แนวคิดตามยุทธศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการเป็นคณะที่มีผลงานวิจัยเติบโตอย่างต่อเนื่อง อาทิ การได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก การตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการมีวารสารวิชาการที่มีคุณภาพ (TCI 1) จึงถือเป็นจุดแข็งที่สำคัญของคณะวิทยาการจัดการ แต่ด้วยแนวโน้มการพัฒนาประเทศไทยของรัฐบาลที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย BCG Model และมีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) จึงทำให้คณะวิทยาการจัดการต้องเร่งพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและกำลังคน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

เป้าหมาย

มุ่งเน้นการผลิตผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางความต้องการของประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการวิจัย ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงชุมชนและเชิงพาณิชย์ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพวารสารทางวิชาการ

กลยุทธ์/แนวทางการดำเนินงาน

  • พัฒนาระบบกลไกการบริหารงานวิจัย และพัฒนานักวิจัยในทุกระดับอย่างมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัย
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางความต้องการของประเทศไทย
  • สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประยุกต์ใช้ต่อท้องถิ่น ภาคอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์
  • ยกระดับวารสารวิชาการในระดับที่สูงขึ้นและส่งเสริมให้เกิดรายได้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานตามพันธกิจเดิมสู่การบริหารจัดการแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
(เป้าหมายระยะกลาง เป้าหมายเพื่อการต่อยอด : Upgrade Core Capabilities)

แนวคิดตามยุทธศาสตร์

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ จนทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนตาม การดำเนินงานตามพันธกิจของคณะวิทยาการ มีความจำเป็นต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวรวมถึงความไม่แน่นอนต่อเหตุการณ์ในอนาคต และเพื่อให้ทุก ๆ พันธกิจของคณะวิทยาการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อทุกการเปลี่ยนแปลง จึงต้องอาศัยรูปแบบการบริการจัดการแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนางาน

เป้าหมาย

เกิดการทำงานรูปแบบบูรณาการมากขึ้น เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบ (Impact) ในเชิงประจักษ์ สามารถวัดผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน และก่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รวมถึงเป็นช่องทางในการสร้างรายได้

กลยุทธิ์/แนวทางการดำเนินงาน

  • จัดตั้งโครงการ “MSC Issue Club” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกประเด็นของการทำงาน และใช้เพื่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนของคณะวิทยาการ
  • จัดตั้งโครงการ “MSC Academy” โดยทำหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมโยงของการทำงานหรือการบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกพันธกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • จัดตั้งโครงการ “MSC Call Center” โดยมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ลดปัญหาาความผิดพลาดและความล่าข้าจากการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและอาจารย์
  • ส่งเสริมระบบทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์ม (Platform Management for Re-profile)ที่พัฒนาระบบบุคลากรเป็นรายบุคคลทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ปรับเปลี่ยนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ระดับที่สูงขึ้น
(เป้าหมายระยะกลาง เป้าหมายเพื่อการต่อยอด : Upgrade Core Capabilities)

แนวคิดตามยุทธศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ เป็นคณะที่มีนักศึกษาจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี แสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้เรียนที่มีต่อศาสตร์ทางด้านการบริหารจัดการ ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการมีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) นอกจากนี้ ยังจะสามารถขยายโอกาสทางการศึกษาโดยเน้นการจัดการศึกษาที่ในกลุ่มที่ต้องการการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และต้องการเพิ่มโอกาสในการมีงานทำ

เป้าหมาย

มุ่งจัดการศึกษาที่สอดรับกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปและเน้นขยายฐานการศึกษา อาทิ หลักสูตรปริญญาตรีควบโท หลักสูตรสองปริญญา หลักสูตรร่วมกับระหว่างสถานการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ

กลยุทธ์/แนวทางการดำเนินงาน

  • ส่งเสริมการจัดการศึกษารูปแบบผสม (Hybrid Education) โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความหมายหลายทางการศึกษา
  • พัฒนาหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
  • สร้างความเชื่อมโยงของหลักสูตรเดียวกันระหว่างสถาบันศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษากับสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ปรับเปลี่ยนสู่องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
(เป้าหมายปลายทาง เป้าหมายเพื่อความสุดยอด : Invest for HPO)

แนวคิดตามยุทธศาสตร์

การที่จะให้คณะวิทยาการจัดการ เป็นองค์กรชั้นนำและได้รับการยอมรับในระดับสากลนั้น จำเป็นต้องมีการกำหนดภาพในอนาคตที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น ในที่นี้ จึงได้มีการนำแนวคิดในการยกระดับองค์กรสมรรถนะสูง (Hight Performance Organization) มาเป็นกรอบในการยกระดับ และมุ่งเป้าหมายไปสู่มาตรฐานการยอมรับในระดับสากล

เป้าหมาย

ยกระดับเป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการจัดการ (Business School) ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์/แนวทางการดำเนินงาน

  • สร้างแนวทางการพัฒนาโครงการองค์กรไปสู่สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการจัดการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล (MSC Business School)
  • ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพในระดับสูงทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ
  • ส่งเสริมให้เกิดการทำงานภายใต้กระบวนการการจัดการความรู้ (KM) แบบมีส่วนร่วม
  • ส่งเสริมการทำงานแบบวัฒนธรรมไทยภายใต้มาตรฐานสากล