คณะกรรมการหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพันธกิจ

เพื่อให้การบริหารงานของคณะวิทยาการจัดการ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อคณะวิทยาการจัดการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยรวม จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพันธกิจ คณะวิทยาการจัดการ ดังนี้

คณะกรรมการอำนวยการ
คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ประธานกรรมกร
รองคณบดีฝ้ายวางแผนและประกันคุณภาพ กรรมการ
รองคณบดีฝ้ายวิจัยและบริการวิชาการ กรรมการ
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา กรรมการ
ผู้ช่วยคณบดีทุกคน กรรมการ
ประธานหลักสูตร/ประธานสาขาวิชาทุกหลักสูตร กรรมการ
หัวหน้าสำนักงานคณบดี กรรมการและเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ตัดสินใจสั่งการ อำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารจัดการในแต่ละหน่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้

หน่วยวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ที่ปรึกษา/กำกับติดตามผล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์ การดำเนินงาน
รองศาสตราจารย์บัวผิน โตทรัพย์ หัวหน้าหน่วย
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวรรณ ช่างคิด กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คร.นิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุมาน จันทวงศ์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เบญจวรรณ คงขน กรรมการ
ดร.ชลิดา เลื่อมใสสุข กรรมการ
ดร.เกวลิณ อังคณานนท์ กรรมการ
นางสาวเบญจมาภรณ์ คงชนะ กรรมการ
นางสาวอัมพวรรณ หนูพระอินทร์ กรรมการ
นางสาวศิริธร เกษรสิทธิ์ กรรมการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

1. พัฒนาระบบกลไกการบริหารงานวิจัย และพัฒนานักวิจัยในทุกระดับอย่างมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัย

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางความต้องการของประเทศ

3. สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประยุกต์ใช้ต่อท้องถิ่ง ภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์

4.ยกระดับวารสารวิชาการในระดับที่สูงขึ้นและส่งเสริมให้เกิดรายได้

5. สร้างระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

6. สนับสนุนทันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้

    • ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย
    • ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
    • สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
    • กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)

7. จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสาระดับชาติหรือนานาชาติ

8. พัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย สร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์ และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ดีเด่น

9. ดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

10. สร้างระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ผู้เรียนหรือชุมชน และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

11. สร้างระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

12. งานอื่น ๆ ที่คณบดีมอบหมาย

หน่วยบริการวิชาการพันธกิจสัมพันธ์
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ที่ปรึกษา/กำกับติดตามผลการดำเนินงาน
นางสาวเรณุกา ขุนชำนาญ หัวหน้าหน่วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศกร ศยามล รองหัวหน้าหน่วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นินธนา เอี่ยมสะอาด กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศราวุธ ทองเนื้อห้า กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุกานดา เทพสุวรรณชนะ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญฤกษ์ บุญคง กรรมการ
นางสาวดาริน รุ่งกลิ่น กรรมการ
นายพงศ์พิพัฒน์ มากช่วย กรรมการ
นางสาวอริสรา ชูมี กรรมการ
นางสาวเมธินี ศรีกาญจน์ กรรมการ
นางสาวธีราวรรณ จันทร์แสง กรรมการ
นายภูเด่น แก้วภิบาล กรรมการ
นางสาวศิริธร เกษรสิทธิ์ กรรมการ
นางสาวทิพพาภรณ์ พัฒคายน หัวหน้าหน่วย
นายวิระพงษ์ ทองล่อง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

1. จัดตั้งโครงการ “MSC Academy” โดยทำหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมโยงของการทำงานหรือการบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกพันธกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุด

2. มุ่งสร้างความร่วมมือร่วมกับชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

3. กำหนดพื้นที่การบริการวิชาการอย่างมีเป้าหมายโดยมุ่งหวังให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม (Social Impact) และมีการกำหนดค่าเป้าหมายที่ชัดเจน

4. ส่งสริมการทำงานในรูปแบบพันธกิจกิจสัมพันธ์ (University Endangerment)

5. ส่งเสริมกลไกการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)

6. มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

7. จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ และแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

8. ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ที่กำหนดไว้ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอก อย่างน้อย 1 โครงการ

9. ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคม และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา และนำผลการประเมินไปไปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีถัดไป

10. งานอื่น ๆ ที่คณบดีมอบหมาย

หน่วยส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร
รองคณบดีฝ่ายวางแผนและประกันคุณภาพ ที่ปรึกษา/กำกับติดตามผลการดำเนินงาน
นางสาวนงลักษณ์ ผุดเผือก หัวหน้าหน่วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนายุ ภูวิทยาธร กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี จิระจรัส กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาส เปาะทอง กรรมการ
ดร.พงษ์จันทร์ คล้ายอุดม กรรมการ
ดร.อนุรักษ์ บิลนุ้ย กรรมการ
นางหรรษา เฉลิมพิพัฒน์ กรรมการ
นางสาวพัชรินทร์ เพชรช่วย กรรมการ
นางสาวพิจิตรา แก้วพิชัย กรรมการ
นายอรรถพงศ์ ลิมป์กาญจนวัฒน์ กรรมการ
นางสุภานีย์ พุทธพงค์ กรรมการและเลขานุการ
นางสุกัญญา รัตนจินดา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
นางสาวชุตินันท์ วิเศษโชค กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

1. จัดตั้งโครงการ “MSC Issue Club” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกประเด็นของการทำงาน และใช้เพื่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนของคณะวิทยาการจัดการ

2. ส่งเสริมระบบเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์ม (Platform Management for Re-profile) ที่พัฒนาระบบบุคลากรเป็นรายบุคคลทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ

3. สร้างแนวทางการพัฒนาโครงการองค์กรไปสู่สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการจัดการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล (MSC Business School)

4. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพในระดับสูงทั้งทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ

5. ส่งเสริมการทำงานแบบวัฒนธรรมไทยภายใต้มาตรฐานสากล

6. จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนของคณะวิทยาการจัดการ ที่เน้นส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ

7. ส่งเสริมสนับสนุน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการทำผลงานทางวิชาการให้แก่บุคลากรสายวิชาการ

8. ส่งเสริมสนับสนุน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเข้าสู่ตำแหน่งในสายงานของบุคลากรสายสนับสนุน

9. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน

10. งานอื่น ๆ ที่คณบดีมอบหมาย

หน่วยประกันคุณภาพและการจัดการความรู้
รองคณบดีฝ่ายวางแผนและประกันคุณภาพ ที่ปรึกษา/กำกับติดตามผลการดำเนินงาน
ดร.เนตรนภา รักษายศ หัวหน้าหน่วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลวรรณ เหล่ายัง กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มณฑา เอมสวัสดิ์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สีนีนาท โชคดำเกิง กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กัณฐาภรณ์ ชัยกิตติกุล กรรมการ
ดร.อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์ กรรมการ
นางสาวทิวาพร กลิ่นกล่อม กรรมการ
นางสาวธารณา กาญจนรจิต กรรมการ
นางสาวลภัสรดา เนียมนุช กรรมการ
ว่าที่ร้อยตรีหญิงพิชามญช์ ศรีสุวรรณ กรรมการและเลขานุการ
นางจีระนันท์ ทุ่มทวน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
นางสาวชุตินันท์ คเขนทร์มาศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

1. สร้างระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร และระดับคณะ ให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษา

2. มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนด และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา

3. มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตร และคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษา

4. มีการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร และระดับคณะตามกำหนดเวลา และรายงานผลการประเมินให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

5. นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงในระดับหลักสูตรและระดับคณะ ให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

7. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดดล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะและมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผน กลยุทธ์ทางการเงิน แผนปฏิบัติราชการประจำปีตามกรอบเวลา เพื่อให้บรรลุผลตามตัวชี้วัดและเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

8. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนคำใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

9. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตานตามพันธกิจของคณะ และรายงานผลการดำเนินงานโดยให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

10. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต และด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยแผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

11. ส่งเสริมให้เกิดการทำงานภายใต้กระบวนการการจัดการความรู้ (KM.) แบบมีส่วนร่วนร่วม

12. การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)

13. ดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการเข้าสู่การจัดอันดับตามเกณฑ์ของ Times Higher Education (THE) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDG)

หน่วยวิชาการและนวัตกรรมการศึกษา
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ที่ปรึกษา/กำกับติดตามผลการดำเนินงาน
ดร.วริศรา สมเกียรติกุล หัวหน้าหน่วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรเพ็ญ สุขหนู รองหัวหน้าหน่วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบ สิงสันจิตร กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ ทวีพงษ์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปลื้มใจ ไพจิตร กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรวดี อินทปันตี กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีวาลี ทองเลี่ยมนาค กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตติยาภรณ์ รอดสีเสน กรรมการ
ดร.ทัศนาวดี แก้วสนิท กรรมการ
ดร.พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์ กรรมการ
ดร.แสงรวี วิฑูรย์พันธุ์ กรรมการ
ดร.นนทศักดิ์ จันทร์ขุม กรรมการ
นางสาวจิตติมา จ้อยเจือ กรรมการ
นางสาววัชรี พืชผล กรรมการ
นายศิโรจน์ พิมาน กรรมการ
นายธนาวิทย์ บัวฝ้าย กรรมการ
นางสาวเปรมกมล ปิยะทัต กรรมการ
นางสาวช่อลัดดา พรหมดนตรี กรรมการ
นางละออง รังสิมันตุชาติ กรรมการและเลขานุการ
นางสาวนงนภัส สุวรรณภักดี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

1. พัฒนาหลักสูตร (Degree) ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น กับทักษะในศตวรรษที่ 21 บัณฑิตพันธุ์ใหม่ และความต้องการกำลังคนของประเทศ (New S Curve)

2. พัฒนาหลักสูตรไม่รับปริญญา (Non Degree) หรือหลักสูตรระยะสั้นที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ (ReSkill, Up Skil, New Skil, New Knowledge, New Experience, New Social) รวมถึงการจัดการศึกษาระบคลังหน่วยกิต ระบบโมดูล (Module) และ Sandbox

3. พัฒนาหลักสูตรที่เน้นประสบการณ์เรียนควบคู่กับการทำงาน (CWIE) โดยร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา องค์กร และสถานประกอบการในการพัฒนาทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ

4. พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนทุกระบบ

5. ส่งเสริมการจัดการศึกษารูปแบบผสม (Hybrid Education) โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความหลากหลายทางการศึกษา

6. พัฒนาหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

7. สร้างความเชื่อมโยงของหลักสูตรเดียวกันระหว่างสถาบันศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

8. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษากับสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ

9. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอน เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรแก่คณาจารย์บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง

10. พัฒนาระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินงานของหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

11. ผลลัพธ์ของหลักสูตรที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม โครงงาน หรืองานวิจัย หรือบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

12. มีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปฏิบัติดังนี้

    • สร้างระบบและกลใกล้งเป็นให้พยักสูตรจัดทำแลแพนจัดการเรียมรู้แบบรภาการกับการทำการทำงทารทำาานาา
    • มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
    • มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
    • มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อง
    • มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

13. งานอื่น ๆ ที่คณบดีมอบหมาย

หน่วยพัฒนานักศึกษา ศิษย์เก่าสัมพันธ์ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
รองคณบดีฝ้ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ที่ปรึกษา/กำกับติดตามผลการดำเนินงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล นาคกราย หัวหน้าหน่วย
นางสาวจิราภรณ์ จันทรวงศ์ รองหัวหน้าหน่วย
ดร.วรรณวิชณีย์ ทองอินทราช กรรมการ
นางพรศุลี สุทธโส กรรมการ
นางกิตติกร ไสยรินทร์ กรรมการ
นายมณกันต์ สมเกื้อ กรรมการ
นายขาญวิทย์ ทองโชติ กรรมการ
ว่าที่ร้อยตรีวันเฉลิม พลดี กรรมการ
ว่าที่ร้อยตรีณัฐพล พัฒนา กรรมการและเลขานุการ
นางสาวอาพาภรณ์ ทิพย์ทอง กรรมการและเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

1. จัดตั้งโครงการ “MSC Call center” โดยมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง ลดปัญหาความผิดพลาดและความล่าข้าจากการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและอาจารย์

2. จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ

3. มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา

4. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา

5. ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 คะแนนน

6. นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา

7. ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชนในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า

8. จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของคณะโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม

9. ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ให้ดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติให้ครบถ้วนและครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาอย่างน้อยสะท้อนผลลัพธ์ผู้เรียน

10. จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณคุณภาพการศึกษาแก่นักษา

11. ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป

12. ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

13. นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

14. สร้างระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และด้านดิจิทัล

15. มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

16. มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษและด้านดิจิทัล

17. มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และด้านดิจิทัล และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

18. มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) หรือผลการสอบภาษาอังกฤษที่เทียบเท่า CEFR (B1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ

19. มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปิสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาขั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ

20. กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยออดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

21. จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

22. มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

23. มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ

24. นำผลการประเมินใช้ปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและควานเป็นไทย

25. ส่งเสริมและพัฒนา Soft Skill ด้านกระบวนการวิศวกรสังคม

26. งานอื่น ๆ ที่คณบดีมอบหมาย

หน่วยวิเทศสัมพันธ์ เครือข่ายความร่วมมือ และสื่อสารองค์กร
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ที่ปรึกษา/กำกับติดตามผลการดำเนินงาน
ดร.แพรวพรรณ ปานนุช หัวหน้าหน่วย
ดร.ปิยตา นวลละออง กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธวัช บุญนวล กรรมการ
ดร.นันทิพา บุษปะวรรธนะ กรรมการ
นางสาวเหมือนมาด หนุมาศ กรรมการ
นางจุฑาทิพย์ ฐิติสวัสดิ์ กรรมการ
นางสาวปิยะบุษ ปลอดอักษร กรรมการ
นายธนากร โพขากรณ์ กรรมการและเลขานุการ
นายวรพล เจนวิไลศิลป์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
นายสุทธิพงษ์ มาสุข กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

1. จัดทำแผนสื่อสารองค์กรของคณะวิทยาการจัดการ

2. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของคณะวิทยาการจัดการ

3. ดำเนินกิจกรรมโรดโชว์ทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย

4. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานด้านสารสนเทศให้ครอบคลุมทุกกิจกรรมและพันธกิจของคณะวิทยาการจัดการ

5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางวิชาการระหว่างคณะกับหน่วยงานภายนอกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางวิชาการ

6. ดำเนินกิจกรรมโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ

คำสั่งฯ คณะกรรมการหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพันธกิจ