“เด็กรุ่นใหม่ต้องรู้จักการลงทุน เพราะเงินเป็นเรื่องสำคัญ”

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย
ชื่อเต็ม    :     บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงินและการลงทุน)
ชื่อย่อ     :      บธ.บ. (การเงินและการลงทุน)

ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม    :     Bachelor of Business Administration (Finance and Investment)
ชื่อย่อ     :      B.B.A. (Finance and Investment)

จุดเด่นของหลักสูตร

ภาคธุรกิจการเงินและการลงทุน เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนารากฐานทางเศรษฐกิจ การพาณิชย์และการเงินของประเทศ มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าสามารถ แข่งขันได้และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ตลอดจนต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมภายในประเทศ การดำเนินธุรกิจจึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ทั้งในด้านของการบริหารในองค์รวม ความรู้เฉพาะด้านที่สามารถนำไปแสวงหาวิธี หรือกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้องค์กร ตลอดจนสามารถในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

รูปแบบการเรียน

เรียนทฤษฎี 3 ปี ฝึกงาน 1 ปี

คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน

  1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6 ทุกสาย) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า ซึ่งจะผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัย โดยวิธีการคัดเลือกหรือการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.00 ขั้นไป

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้

ชั้นปี 1
มีทักษะด้านการบัญชี สามารถวิเคราะห์การตลาดสมัยใหม่ มีทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและโปรแกรมด้านการเงินและการลงทุน สามารถอ่านและวิเคราะห์งบการเงินเบื้องต้น วางแผนการเงินสำหรับธุรกิจเริ่มต้นได้

ชั้นปี 2
มีความรู้และทักษะในการขายประกันภัย วางแผนการเงินส่วนบุคคล วางแผนภาษีและการประกันภัย สามารถจัดทำบัญชีบริหาร คำนวณภาษีอากรธุรกิจ สามารถวิเคราะห์ตลาดบริการทางเงิน ระบบเศรษฐกิจและวิเคราะห์สินเชื่อได้

ชั้นปี 3
สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์  วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอรายงานข้อมูล มีทักษะการคิดวิเคราะห์งบการเงินบริษัท วิเคราะห์การลงทุน และทักษะด้านผู้แนะนำการลงทุน

ชั้นปี 4
มีความรู้ด้านการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ มีความรับผิดชอบในวิชาชีพการเงินและการลงทุน สามารถวิจัยทางการเงินและการลงทุนได้

โครงสร้างหลักสูตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

1. เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
2. ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ
3. บุคลากรทางการเงินของภาครัฐและเอกชน
4. วาณิชธนากร
5. พนักงานการเงิน/พนักงานสินเชื่อ
6. นักการตลาดบริการทางการเงิน
7. ตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
8. นักวางแผนทางการเงินและภาษี
9. ผู้แนะนำการลงทุน ที่ปรึกษาการเงินและการลงทุน
10. นักวางแผนการลงทุนและวิเคราะห์หลักทรัพย์
11. นักลงทุน