“การจัดการโลจิสติกส์เป็นมากว่าการขนส่ง”

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย
ชื่อเต็ม    :     บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อย่อ     :      บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์)

ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม    :     Bachelor of Business Administration (Logistics Management)
ชื่อย่อ     :      B.B.A. (Logistics Management)

จุดเด่นของหลักสูตร

การจัดการโลจิสติกส์เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New S-Curve) ทั้งนี้ ในภาคธุรกิจเกิดการขาดแคลนบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์เป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มีความพร้อมในการผลิตบัณฑิต ที่มีสมรรถนะทางด้านโลจิสติกส์ เนื่องจากบริบทพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งอุตสาหกรรม ในการแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจอีคอมเมิร์ช และธุรกิจคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า และมีโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่ครอบคลุมทุกรูปแบบ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการผลิต บัณฑิตโดยใช้บริบทของพื้นที่ให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และฝึกประสบการณ์การวิชาชีพในสายงาน ทางด้านโลจิสติกส์ และสร้างโอกาสทางสายอาชีพทางด้านโลจิสติกส์หลังสำเร็จการศึกษา

ทำไมต้องเลือกเรียนที่เรา

  1. รูปแบบการเรียนทฤษฎี 3.5 ปี ฝึกงาน 1 ภาคเรียน
  2. เปิดสอนทั้งภาคปกติ และภาคโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลท้องถิ่น(กศ.บท.)

คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน

  1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6 ทุกสาย) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า ซึ่งจะผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัย โดยวิธีการคัดเลือกหรือการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.50 ขั้นไป (หลักสูตรยอดนิยม)
  3. มีบุคลิกภาพ การสื่อสาร มนุษยสัมพันธ์ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้

ชั้นปี 1
มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเบื้องต้น สามารถคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่ง การจัดเส้นทางตารางการเดินรถ รวมถึงสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปพื้นฐานในงานด้านการจัดการการขนส่งได้

ชั้นปี 2
มีความรู้ความเข้าใจทางด้านการจัดซื้อจัดหาการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการ บรรจุภัณฑ์ และการคิดคำนวณวิเคราะห์เชิงปริมารทางด้านโลจิสติกส์

ชั้นปี 3
มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการการนำเข้าส่งออก การขนส่งทางอากาศ หลักการการวัดประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์ และเทคโนโลยีสำหรับงานโลจิสติกส์

ชั้นปี 4
มีความรู้ความเข้าใจในการจัดสัมมนาทางด้านโลจิสติกส์ การเป็นผู้ประกอบการทางด้านโลจิสติกส์ การจัดการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรม และการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระดับโลก

โครงสร้างหลักสูตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชาการขนส่ง
2. บุคลากรขนส่งสินค้าทางบก
3. บุคลากรคลังสินค้า
4. บุคลากรควบคุมวัตถุดิบ
5. บุคลากรฝ่ายซัพพลายเชน/โลจิสติกส์
6. บุคลากรนำเข้า/ส่งออก
7. บุคลากรการค้าระหว่างประเทศ
8. บุคลากรขนส่งสินค้าทางทะเล
9. บุคลากรสายเรือ
10. บุคลากรขนส่งสินค้าทางอากาศ
11. บุคลากรสายการบิน
12. นักวิเคราะห์งานโลจิสติกส์
13. นักวิเคราะห์ซัพพลายเชน
14. นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ