- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
แขนงวิชาบริหารธุรกิจ
แขนงวิชาการบัญชี
แขนงวิชาการจัดการธุรกิจบริการและการเดินทางเชิงสร้างสรรค์
พ.ศ. 2528 คณะวิทยาการจัดการดำเนินการจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในระดับอนุปริญญาในวิชาเอกการจัดการสำนักงาน หลังจากนั้นได้ขยายสาขาวิชาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2530 ระดับอนุปริญญาเปิดสอนสาขาวิชาเอกการจัดการทั่วไป
พ.ศ. 2531 คณะวิทยาการจัดการดำเนินการจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) โดยเปิดสอนสาขาวิชาเอกการจัดการทั่วไป
พ.ศ. 2532 คณะวิทยาการจัดการดำเนินการจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในระดับปริญญาตรี (4 ปี) โดยเปิดสอนสาขาวิชาเอกการจัดการทั่วไป สาขาวิชาเอกบริหารธุรกิจ
พ.ศ. 2533 คณะวิทยาการจัดการได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศแคนาดา เพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการทั่วไป เป็นเวลา 3 ปี
พ.ศ. 2536 คณะวิทยาการจัดการเปิดสอนวิชานิเทศศาสตร์
พ.ศ. 2543 คณะวิทยาการจัดการเปิดสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2543 คณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินการเปิดสอนสาขาวิชาเอกรวม 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์
พ.ศ. 2546 คณะวิทยาการจัดการเปิดสอน 9 สาขาวิชา คือ 1 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 2) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การเงินและการธนาคาร 3) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 4) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การตลาด 5) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 6 สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การบัญชี 7) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 8) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ และ 9) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์
พ.ศ. 2548 คณะวิทยาการจัดการจัดการเรียนการสอน 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย 1) กลุ่มวิชาการจัดการทั่วไป 2) กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 3) กลุ่มวิชาการตลาด 4) กลุ่มวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5) กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการบัญชี ประกอบด้วย 1) กลุ่มวิชาการเงินและการธนาคาร และ 2) กลุ่มวิชาการบัญชี ภาควิชานิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 1) กลุ่มวิชาประชาสัมพันธ์ และ 2) กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2548 คณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ให้แก่ นักบริหารธุรกิจในท้องถิ่น ในโครงการจัดการศึกษาสำหรับนักบริหารธุรกิจหลักสูตรปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป (Ex.B.A.) เป็นรุ่นแรก
พ.ศ. 2549 คณะวิทยาการจัดการจัดการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย 1) แขนงวิชาการจัดการทั่วไป 2) แขนงวิชาการเงินและการธนาคาร 3) แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 4) แขนงวิชาการตลาด 5) แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 6 แขนงวิชาการบัญชี และ 7) แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย แขนงวิชาการประชาสัมพันธ์และแขนงวิชาวารสารศาสตร์ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 เปิดหลักสูตรปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป (Ex.B.A ) รุ่นแรกที่ศูนย์การศึกษานอกมหาวิทยาลัย จังหวัดกระบี่
พ.ศ. 2551 คณะวิทยาการจัดการจัดการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 4 หลักสูตรและหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ประกอบด้วย 1) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 2) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 3) สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร 4) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 5) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 1) แขนงวิชาการประชาสัมพันธ์ และ 2) แขนงวิชาวารสารศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการคลัง หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ประกอบด้วย 1) สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (แขนงวิชาการบัญชี) 2) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (แขนงวิชาการตลาด) 3 สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์) 4) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (แขนงวิชาการเงินและการธนาคาร) 5) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) และ 6) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
พ.ศ. 2552 คณะวิทยาการจัดการ เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
พ.ศ. 2558 คณะวิทยาการจัดการ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่มฯ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดอย่างเป็นระบบ โดยคณะวิทยาการจัดการเปิดหลักสูตรใหม่ 1 หลักสูตรคือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
พ.ศ. 2559 คณะวิทยาการจัดการเปีดหลักสูตรใหม่ 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอาหาร และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร
พ.ศ. 2560 หลักสูตรมีแขนงเพิ่มเติม คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจออนไลน์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการเป็นผู้ประกอบการ และเปลี่ยนชื่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
พ.ศ. 2564 คณะวิทยาการจัดการเปิดหลักสูตรใหม่ 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสุขภาพและความงาม เปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2564
ปัจจุบัน คณะวิทยาการจัดการ ผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี นิเทศศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ สามารถนำไปประกอบอาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและความต้องการของตลาดแรงงาน
แขนงวิชาบริหารธุรกิจ
แขนงวิชาการบัญชี
แขนงวิชาการจัดการธุรกิจบริการและการเดินทางเชิงสร้างสรรค์
“สร้างองค์ความรู้ เชิดชูคุณธรรม วิทยาการก้าวล้ำ นำท้องถิ่นพัฒนา”
“คณะแห่งการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับท้องถิ่นสู่สากล”
- พัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตด้วยประสบการณ์การเรียนรู้และนวัตกรรมทางการจัดการ เพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล
- พัฒนาและยกระดับคุณภาพงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้การยอมรับในระดับสากล
- พัฒนาคุณภาพงานบริการวิชาการและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกภาคส่วน
- ส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทย
- ส่งเสริมการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพภายใต้หลักธรรมาภิบาล
M – Mastery (ความเชี่ยวชาญ)
S – Synergy (การผสานพลัง)
C – Creativity (ความคิดสร้างสรรค์
นวัตกรรมนำ เลิศล้ำวิชาการ ประสานสู่สากล
เมื่อถามบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการว่า “คุณเป็นใคร” ทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เราคือวจก.” ซึ่งคำว่า วจก. ไม่ใช่เพียงแค่ชื่อย่อของคณะวิทยาการจัดการเท่านั้น หากยังเป็นที่มาของคำว่า “ไม่มีวันที่เราจะจากกัน” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและการทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนานของบุคลากรในคณะวิทยาการจัดการ คณะฯ จึงมีวัฒนธรรมร่วมกันคือ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแบ่งปัน ร่วมภาคภูมิใจ”
บัณฑิตของคณะวิทยาการจัดการมีอัตลักษณ์ของการเป็น “ผู้ให้ : G.I.V.E”
G : Growth Mindset มีทัศน์ที่ดีต่อความก้าวหน้าทั้งต่อตนเองและส่วนรวม
I : Innovator มีความเป็นนักนวัตกรรม และนักคิดเชิงสร้างสรรค์
V : Volunteer มีจิตอาสา อดทน และสู้งาน
E : Excellent มีสมรรถนะสูงและเชี่ยวชาญในศาสตร์
“ใฝ่รู้ สู้งาน มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีจิตอาสา”
“เป็นคณะแห่งบริหารจัดการที่ทันสมัย และมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม”
สีน้ำเงิน รหัสโค้ดสี #213e82