ชั้นปี 1
สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ช่วยพ่อครัว (Cook Helper) และมีความรู้เบื้องต้นในการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจอาหาร มีทักษะระดับฝีมือและเทคนิคในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน
“เรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง นำไอเดียสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาหาร”
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ธุรกิจอาหาร)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (ธุรกิจอาหาร)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Bachelor of Business Administration (Food Business)
ชื่อย่อ : B.B.A. (Food Business)
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่รองรับการพัฒนาธุรกิจอาหารของประเทศไทยให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นธุรกิจที่มีบทบาทมากในเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับสากล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอาหาร ได้จึงถูกออกเพื่อให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ เพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญทางด้านอาหาร และสามารถบูรณาการกับความรู้ทางด้านบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะสามารถทำให้ธุรกิจด้านอาหารดำเนินไปได้อย่างประสบความสำเร็จ และเพื่อเป็นการตอบสนองกลุ่มผู้ประกอบการด้านธุรกิจอาหารที่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านธุรกิจอาหารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ นอกจากการผลิตบุคลากรเพื่อเข้าสู่องค์กรด้านธุรกิจอาหารแล้วหลักสูตรนี้ยังสามารถสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจอาหารด้วยตนเองซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
รูปแบบการเรียน
เรียนทฤษฎี 3 ปี ฝึกงาน 1 ปี
คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6 ทุกสาย) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า ซึ่งจะผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัย โดยวิธีการคัดเลือกหรือการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX 2.00 ขั้นไป
ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้
ชั้นปี 2
สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งพ่อครัวฝึกหัดระดับ 1 (Commis III) เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารขนาดเล็กได้ และเป็นพนักงานให้บริการอาหาร มีทักษะระดับฝีมือและรู้เทคนิคในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน
ชั้นปี 3
สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งพ่อครัวฝึกหัดระดับ 2 (Commis II) เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารขนาดเล็กได้ และเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหาร มีทักษะและความถนัดเฉพาะทาง
ชั้นปี 4
สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งพ่อครัวฝึกหัดระดับ 1 หรือกุ๊ก (Commis I) เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารขนาดเล็กได้ และเป็นผู้จัดการร้านอาหารฝึกหัด สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ และด้านอาหาร
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
1. ผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร/เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบอาชีพอิสระเกี่ยวกับอาหาร
2. ผู้ประกอบการอาหารในโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร
3. เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจด้านอาหารและโภชนาการ
4. นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
5. นักออกแบบอาหาร และนักออกแบบจานอาหาร (Food Design and Food Stylist)
6. พนักงานของกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารในโรงงาน โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร
7. วิทยากรอบรมให้ความรู้ทางด้านธุรกิจอาหาร และการประกอบอาหาร
8. ผู้ทดสอบมาตรฐานอาหาร